ถ้า เอ่ยถึงแหล่งเรียนรู้แนวใหม่ ที่ให้ความรู้ และมุมมองซึ่งคุณไม่เคยรู้มาก่อน ที่ที่เปิดตำนานสุวรรณภูมิสู่ยุคทองแห่งสยามประเทศ ก่อนจะเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน และสนุกกับการค้นพบปริศนาหลายพันปีด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีลูกเล่น เข้าใจง่าย
คงจะมองหาได้ที่เดียว คือ “มิวเซียมสยาม” พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการเข้าชม ตั้งอยู่บริเวณท่าเตียน ข้างวัดโพธิ์ ถนนสนามไชย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในอันเป็นเมืองมรดกที่มี ชีวิตของไทย
เมื่อได้ผ่านประตูลูกกรงขนาดใหญ่เข้ามาบริเวณด้านหน้าของมิวเซียมสยามคุณจะ ได้พบกับตัวตึกของพิพิธภัณฑ์ที่เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงพานิชย์ (เดิม) ที่ตอนนี้ได้ปรับปรุงอย่างสวยงาม ตั้งตระหง่านอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ จากนั้นได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ว่า ภายในประกอบด้วยอาคารหลัก 3 อาคาร คือ
- อาคารนิทรรศการถาวร หรืออาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ซึ่งเดิมเป็นอาคารสำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีรูปแบบนีโอคลาสสิค ที่ไว้จัดแสดงนิทรรศการถาวรเรื่อง “เรียงความประเทศไทย”
- อาคารนิทรรศการชั่วคราว และกิจกรรมพิเศษ รวมถึงร้านอาหาร และเครื่องดื่ม จะเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนซึ่งจะมีการจัดเปลี่ยนหัวข้อการจัด แสดงตามความเหมาะสม
- อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ อาทิ คลังความรู้ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องสมุดสำหรับเด็ก เป็นต้น
แต่ไฮไลท์ และจุดที่น่าสนใจของที่นี่ เห็นที่จะหนีไม่พ้นเนื้อหาในห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร “เรียงความประเทศไทย” ที่ชวนกระตุกต่อมความคิด และจุดประกายความอยากรู้ จนทำให้ทุกท่านต้องเกิดคำถาม และตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็น นอกจากนี้ยังมีความพิเศษไม่เหมือนแหล่งเรียนรู้แห่งอื่น นั่นคือ ทุกห้องจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถจับต้องได้ เล่นได้ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย (วัตถุ) และใจ (จิต) สร้างการเรียนรู้ที่สนุกบนพื้นฐานความเข้าใจได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่า ระหว่างนิทรรศการกับผู้ชม สามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ทุกขณะช่วงเวลาที่เยี่ยมชม
คงจะมองหาได้ที่เดียว คือ “มิวเซียมสยาม” พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้นการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในการเข้าชม ตั้งอยู่บริเวณท่าเตียน ข้างวัดโพธิ์ ถนนสนามไชย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บนเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในอันเป็นเมืองมรดกที่มี ชีวิตของไทย
เมื่อได้ผ่านประตูลูกกรงขนาดใหญ่เข้ามาบริเวณด้านหน้าของมิวเซียมสยามคุณจะ ได้พบกับตัวตึกของพิพิธภัณฑ์ที่เคยใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงพานิชย์ (เดิม) ที่ตอนนี้ได้ปรับปรุงอย่างสวยงาม ตั้งตระหง่านอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ จากนั้นได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ว่า ภายในประกอบด้วยอาคารหลัก 3 อาคาร คือ
- อาคารนิทรรศการถาวร หรืออาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ซึ่งเดิมเป็นอาคารสำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ สร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีรูปแบบนีโอคลาสสิค ที่ไว้จัดแสดงนิทรรศการถาวรเรื่อง “เรียงความประเทศไทย”
- อาคารนิทรรศการชั่วคราว และกิจกรรมพิเศษ รวมถึงร้านอาหาร และเครื่องดื่ม จะเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนซึ่งจะมีการจัดเปลี่ยนหัวข้อการจัด แสดงตามความเหมาะสม
- อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยพื้นที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ อาทิ คลังความรู้ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องสมุดสำหรับเด็ก เป็นต้น
แต่ไฮไลท์ และจุดที่น่าสนใจของที่นี่ เห็นที่จะหนีไม่พ้นเนื้อหาในห้องจัดแสดงนิทรรศการถาวร “เรียงความประเทศไทย” ที่ชวนกระตุกต่อมความคิด และจุดประกายความอยากรู้ จนทำให้ทุกท่านต้องเกิดคำถาม และตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็น นอกจากนี้ยังมีความพิเศษไม่เหมือนแหล่งเรียนรู้แห่งอื่น นั่นคือ ทุกห้องจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถจับต้องได้ เล่นได้ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย (วัตถุ) และใจ (จิต) สร้างการเรียนรู้ที่สนุกบนพื้นฐานความเข้าใจได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่า ระหว่างนิทรรศการกับผู้ชม สามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ทุกขณะช่วงเวลาที่เยี่ยมชม
** เปิดม่านนิทรรศการมีชีวิต 3 ชั้น 17 ห้อง **
อาคารพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มีทั้งหมด 3 ชั้นประกอบด้วยห้องนิทรรศการ 17 ห้อง เริ่มเดินจากชั้นที่ 1 คุณจะได้พบกับห้องเบิกโรง ที่จะพาย้อนกลับไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดจากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศ จนถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใคร และอะไรคือไทย เข้าสู่ตัวห้องที่ 2 เป็นห้องไทยแท้ ที่จะกระตุ้นความอยากรู้ว่าไทยแท้คืออะไร และเป็นอย่างไรจึงจะเรียกว่าไทยแท้
จากนั้นขึ้นลิฟต์ย้อนเวลากลับไปเริ่มต้นชั้นที่ 3 เพื่อเปิดตำนานสุวรรณภูมิในห้องที่ 3 ห้องที่แสดงถึงวิวัฒนาการของสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “สุวรรณภูมิ” คือชื่อที่ชาวโลกเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนใช้เรียกดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของอินเดีย ซึ่งส่วนหนึ่งของพื้นที่แห่งนี้ คุณจะเห็นกรุงเทพฯ ที่ยังนอนสงบนิ่งอยู่ใต้ทะเล และได้ศึกษาโครงกระดูก หลุมฝังศพ และอารยธรรมที่ฝังอยู่ใต้ดิน
เดินต่อมา คุณจะได้ทำความรู้จักกับ “สุวรรณภูมิ” ในห้องที่ 4 ดินแดนแห่งความมั่งคั่งผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะ และความเชื่อ เช่น เรื่องผี พราหมณ์ และพุทธ ที่จะทำให้ทุกท่านรู้ว่า สุวรรณภูมิ คือรากเหง้าของประเทศไทยนั่นเอง
เข้าสู่ตัวห้องที่ 5 เป็นห้อง “พุทธิปัญญา” ห้องที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหัวใจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะมี คาถา เย ธมฺมา หมายถึง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด คาถายอดนิยมแห่งสุวรรณภูมิ มูลเหตุแห่งความใจกว้าง และสันติ (ห้องนี้ขอบอกว่าบรรยากาศสงบมากครับ สามารถนั่งสมาธิ หรือนั่งพักผ่อนคลายกาย-ใจได้ เพราะใจกลางของห้องจะมีเบาะวงกลมไว้สำหรับให้นั่ง)
หลักจากผ่านห้องแห่งความสงบมาแล้ว คุณจะได้พบกับห้องที่ 16 ซึ่งเต็มไปด้วยบรรดาเหล่าทหารนักรบ และเรื่องราวของแคว้นต่างๆ ชื่อว่า “กำเนิดสยามประเทศ” ห้อง ที่ทุกท่านจะได้ร่วมกันสืบสานเรื่องราวของวีรบุรุษผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา จากตำนานท้าวอู่ทอง และห้องนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ลักษณะการยิงของปืนใหญ่ พร้อมฝึกยิงกับภาพ 3 มิติอีกด้วย ถัดเข้ามาเป็นห้องที่ 7 เป็นห้องของสยามประเทศ ที่คุณจะได้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมของกรุงศรีอยุธยา รวมถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น การเมือง สถาปัตยกรรม และภาษา
เปิดม่านสู่ห้องที่ 8 เป็นห้องสยามกลยุทธ์ เป็นห้องที่คุณจะได้รู้ถึงมูลเหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผ่านจากห้องสยามกลยุทธ์ ลงบันไดลงมาที่ชั้น 2 สู่ตัวห้องของแผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษในห้องที่ 9 คุณจะได้รู้ถึงมูลเหตุของเส้นแบ่งพรมแดน ที่ทำให้เกิดการตัดแบ่งชุมชน เชื้อชาติ และญาติพี่น้องออกจากกัน
ออกจากห้องแผนที่ เข้าสู่ตัวห้องที่ 10 คือห้องที่คุณจะเห็นกรุงเทพฯ ภายใต้ฉากของอยุธยา ที่เมื่อครั้งสิ้นกรุงศรีฯ ได้มีการสร้างเมืองขึ้นใหม่บนผืนดิน “บางกอก” ซึ่งได้จำลองแนวคิด และสืบสานวัฒนธรรมมาจากเมืองเก่ามากมาย เมื่อสร้างเสร็จจึงปักฐาน กลายเป็นชาวกรุงเทพฯ ในที่สุด
หลังจากได้เป็นกรุงเทพฯ แล้ว เราลองมาดูชีวิตนอกกรุงในห้องที่ 11 กันดูบ้าง เพราะจะสื่อให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นของเล่น อุปกรณ์ดักสัตว์ เครื่องมือทำกิน ความเชื่อ หรือพิธีกรรมต่างๆ ทุกสิ่งล้วนผูกพันมาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งไทยเราได้มีการติดต่อกับโลกตะวันตกมากขึ้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมสยามประเทศหลายด้าน เริ่มจากการเปลี่ยนการจราจรทางน้ำ เกิดการสร้างถนนหนทาง วิถีชีวิตที่แช่มช้า ได้เปลี่ยนไปเป็นวิถีที่เร่งรีบ นี่คือสิ่งที่คุณจะได้เห็น และสัมผัสร่วมกันในห้องที่ 12 แห่งนี้
เมื่อเดินเข้าสู่ห้องที่ 13 คุณจะได้พบกับห้องกำเนิดสยามประเทศ ที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาคำตอบว่า “วันเกิดประเทศไทยคือวันที่เท่าไหร่” เป็นต้น ถัดมาเป็นห้องที่ 14 ถ้าอยากรู้ว่าสีสันตะวันตกเป็นอย่างไร หรูหรา ศิวิไลซ์มากแค่ไหน ห้องนี้มีคำตอบครับ
เดินเข้ามาถึงตัวห้องที่ 15 คุณจะได้เห็นเมืองไทยในวันนี้ จากเสียงของประชาชนหลากหลายเพศ และเชื้อชาติ ว่ามีสิ่งใดบ้างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่ยังอยู่กับเรา และมีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่หล่นหายไปอย่างน่าเสียดาย จากนั้นก้าวย่างเข้าสู่โลกแห่งอนาคต ที่ห้อง “มองไปข้างหน้า” ในห้องที่ 16เป็นห้องที่ตอกย้ำว่า “วันพรุ่งนี้ประเทศไทยจะเป็นเช่นไร คนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้”
ออกจากห้องแห่งอนาคต จุดที่คุณจะพลาดไม่ได้ นั่นก็คือ โมบายคนกบแดงที่แขวนทอดยาวตั้งแต่ชั้นที่ 1 จนถึงชั้น 3 เสมือนเป็นการย้อนเวลา และร่วมเดินทางไปกับโมบายแห่งนี้ สำหรับในส่วนนี้ ทีมงานได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับ “คนกบแดง” ว่า มี ลักษณะเป็นรูปคนทำท่าเป็นกบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งนี้ เพราะกบถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่เคารพของคนทั่วทั้งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากลวดลายบนกลองมโหระทึกที่เป็นเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนของคนสมัยก่อน
จากจุดเริ่มต้นในชั้นที่ 1 ย้อนเวลาไล่เรียงประเทศไทยในชั้นที่ 3 จากทั้งหมด 16 ห้อง จนกระทั่งมาบรรจบที่ชั้น 1 อีกครั้ง กับห้องที่ 17 เพราะเป็นห้องที่คุณจะได้ย้อนตำนานตึกเก่าเล่าที่มาของมิวเซียมสยาม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เด็ก และเยาวชนได้สวมบทบาท “นักโบราณคดีสมัครเล่น” และร่วมกันค้นหาอดีตในพื้นที่แห่งนี้ด้วย
นี่คือส่วนหนึ่งจากทั้งหมดที่คุณได้รับรู้ในเบื้องต้น แต่ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ไม่สามารถนำมาเขียนและอธิบายได้หมด นอกเสียจากว่า...จะหาเวลามาสัมผัสกับสถานที่จริง ของจริง และความรู้สึกจริงๆ
ที่ “มิวเซียมสยาม” แห่งนี้ จะกระตุกต่อมความคิด และจุดประกายความอยากรู้ จนเกิดการตั้งคำถามในสิ่งที่เห็นได้จริงหรือไม่ การจัดนิทรรศการแบบมีชีวิตจะเป็นอย่างไร คุณและครอบครัวต้องมาสัมผัสกันเอาเองครับ แล้วจะอ๋อ...เพราะอย่างนี้นี่เอง
จากนั้นขึ้นลิฟต์ย้อนเวลากลับไปเริ่มต้นชั้นที่ 3 เพื่อเปิดตำนานสุวรรณภูมิในห้องที่ 3 ห้องที่แสดงถึงวิวัฒนาการของสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “สุวรรณภูมิ” คือชื่อที่ชาวโลกเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนใช้เรียกดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของอินเดีย ซึ่งส่วนหนึ่งของพื้นที่แห่งนี้ คุณจะเห็นกรุงเทพฯ ที่ยังนอนสงบนิ่งอยู่ใต้ทะเล และได้ศึกษาโครงกระดูก หลุมฝังศพ และอารยธรรมที่ฝังอยู่ใต้ดิน
เดินต่อมา คุณจะได้ทำความรู้จักกับ “สุวรรณภูมิ” ในห้องที่ 4 ดินแดนแห่งความมั่งคั่งผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะ และความเชื่อ เช่น เรื่องผี พราหมณ์ และพุทธ ที่จะทำให้ทุกท่านรู้ว่า สุวรรณภูมิ คือรากเหง้าของประเทศไทยนั่นเอง
เข้าสู่ตัวห้องที่ 5 เป็นห้อง “พุทธิปัญญา” ห้องที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหัวใจของพระพุทธศาสนาซึ่งจะมี คาถา เย ธมฺมา หมายถึง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด คาถายอดนิยมแห่งสุวรรณภูมิ มูลเหตุแห่งความใจกว้าง และสันติ (ห้องนี้ขอบอกว่าบรรยากาศสงบมากครับ สามารถนั่งสมาธิ หรือนั่งพักผ่อนคลายกาย-ใจได้ เพราะใจกลางของห้องจะมีเบาะวงกลมไว้สำหรับให้นั่ง)
หลักจากผ่านห้องแห่งความสงบมาแล้ว คุณจะได้พบกับห้องที่ 16 ซึ่งเต็มไปด้วยบรรดาเหล่าทหารนักรบ และเรื่องราวของแคว้นต่างๆ ชื่อว่า “กำเนิดสยามประเทศ” ห้อง ที่ทุกท่านจะได้ร่วมกันสืบสานเรื่องราวของวีรบุรุษผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา จากตำนานท้าวอู่ทอง และห้องนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ลักษณะการยิงของปืนใหญ่ พร้อมฝึกยิงกับภาพ 3 มิติอีกด้วย ถัดเข้ามาเป็นห้องที่ 7 เป็นห้องของสยามประเทศ ที่คุณจะได้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมของกรุงศรีอยุธยา รวมถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เช่น การเมือง สถาปัตยกรรม และภาษา
เปิดม่านสู่ห้องที่ 8 เป็นห้องสยามกลยุทธ์ เป็นห้องที่คุณจะได้รู้ถึงมูลเหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผ่านจากห้องสยามกลยุทธ์ ลงบันไดลงมาที่ชั้น 2 สู่ตัวห้องของแผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษในห้องที่ 9 คุณจะได้รู้ถึงมูลเหตุของเส้นแบ่งพรมแดน ที่ทำให้เกิดการตัดแบ่งชุมชน เชื้อชาติ และญาติพี่น้องออกจากกัน
ออกจากห้องแผนที่ เข้าสู่ตัวห้องที่ 10 คือห้องที่คุณจะเห็นกรุงเทพฯ ภายใต้ฉากของอยุธยา ที่เมื่อครั้งสิ้นกรุงศรีฯ ได้มีการสร้างเมืองขึ้นใหม่บนผืนดิน “บางกอก” ซึ่งได้จำลองแนวคิด และสืบสานวัฒนธรรมมาจากเมืองเก่ามากมาย เมื่อสร้างเสร็จจึงปักฐาน กลายเป็นชาวกรุงเทพฯ ในที่สุด
หลังจากได้เป็นกรุงเทพฯ แล้ว เราลองมาดูชีวิตนอกกรุงในห้องที่ 11 กันดูบ้าง เพราะจะสื่อให้เห็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นของเล่น อุปกรณ์ดักสัตว์ เครื่องมือทำกิน ความเชื่อ หรือพิธีกรรมต่างๆ ทุกสิ่งล้วนผูกพันมาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งไทยเราได้มีการติดต่อกับโลกตะวันตกมากขึ้น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมสยามประเทศหลายด้าน เริ่มจากการเปลี่ยนการจราจรทางน้ำ เกิดการสร้างถนนหนทาง วิถีชีวิตที่แช่มช้า ได้เปลี่ยนไปเป็นวิถีที่เร่งรีบ นี่คือสิ่งที่คุณจะได้เห็น และสัมผัสร่วมกันในห้องที่ 12 แห่งนี้
เมื่อเดินเข้าสู่ห้องที่ 13 คุณจะได้พบกับห้องกำเนิดสยามประเทศ ที่จะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาคำตอบว่า “วันเกิดประเทศไทยคือวันที่เท่าไหร่” เป็นต้น ถัดมาเป็นห้องที่ 14 ถ้าอยากรู้ว่าสีสันตะวันตกเป็นอย่างไร หรูหรา ศิวิไลซ์มากแค่ไหน ห้องนี้มีคำตอบครับ
เดินเข้ามาถึงตัวห้องที่ 15 คุณจะได้เห็นเมืองไทยในวันนี้ จากเสียงของประชาชนหลากหลายเพศ และเชื้อชาติ ว่ามีสิ่งใดบ้างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่ยังอยู่กับเรา และมีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่หล่นหายไปอย่างน่าเสียดาย จากนั้นก้าวย่างเข้าสู่โลกแห่งอนาคต ที่ห้อง “มองไปข้างหน้า” ในห้องที่ 16เป็นห้องที่ตอกย้ำว่า “วันพรุ่งนี้ประเทศไทยจะเป็นเช่นไร คนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้”
ออกจากห้องแห่งอนาคต จุดที่คุณจะพลาดไม่ได้ นั่นก็คือ โมบายคนกบแดงที่แขวนทอดยาวตั้งแต่ชั้นที่ 1 จนถึงชั้น 3 เสมือนเป็นการย้อนเวลา และร่วมเดินทางไปกับโมบายแห่งนี้ สำหรับในส่วนนี้ ทีมงานได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับ “คนกบแดง” ว่า มี ลักษณะเป็นรูปคนทำท่าเป็นกบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งนี้ เพราะกบถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่เคารพของคนทั่วทั้งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากลวดลายบนกลองมโหระทึกที่เป็นเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนของคนสมัยก่อน
จากจุดเริ่มต้นในชั้นที่ 1 ย้อนเวลาไล่เรียงประเทศไทยในชั้นที่ 3 จากทั้งหมด 16 ห้อง จนกระทั่งมาบรรจบที่ชั้น 1 อีกครั้ง กับห้องที่ 17 เพราะเป็นห้องที่คุณจะได้ย้อนตำนานตึกเก่าเล่าที่มาของมิวเซียมสยาม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เด็ก และเยาวชนได้สวมบทบาท “นักโบราณคดีสมัครเล่น” และร่วมกันค้นหาอดีตในพื้นที่แห่งนี้ด้วย
นี่คือส่วนหนึ่งจากทั้งหมดที่คุณได้รับรู้ในเบื้องต้น แต่ยังมีอะไรอีกหลายอย่างที่ไม่สามารถนำมาเขียนและอธิบายได้หมด นอกเสียจากว่า...จะหาเวลามาสัมผัสกับสถานที่จริง ของจริง และความรู้สึกจริงๆ
ที่ “มิวเซียมสยาม” แห่งนี้ จะกระตุกต่อมความคิด และจุดประกายความอยากรู้ จนเกิดการตั้งคำถามในสิ่งที่เห็นได้จริงหรือไม่ การจัดนิทรรศการแบบมีชีวิตจะเป็นอย่างไร คุณและครอบครัวต้องมาสัมผัสกันเอาเองครับ แล้วจะอ๋อ...เพราะอย่างนี้นี่เอง
“คน กบแดง” ว่า มีลักษณะเป็นรูปคนทำท่าเป็นกบ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งนี้ เพราะกบถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นที่เคารพของคนทั่วทั้งทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถ่ายภาพนี้จากบนชั้นที่สองของอาคารค่ะ
แท็กซี่รุ่นไหนเนี่ย ???
บันไดทางขึ้น
ื
ื
ธนบัตร !!
ื
โห 10 บาท
ตู้ไปรษณีย์
บรรยากาศแบบ งานวัด
อยากเป้นคนไหน สวมรอยเลย 55
แผนที่การเดินทางไปที่ มิวเซียม สยาม
Craedit= http://www.ndmi.or.th/museums/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น